งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนคณิตศสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนคณิตศสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิจัยเรื่อง  การจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิต เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พ.ศ. 2558 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ที่มา : http://oservice.skru.ac.th/ebookft/1232/%A1%D2%C3%A8%D1%B4%BB%C3%D0%CA%BA%A1%D2%C3%B3%EC%E2%B4%C2%E3%AA%E9%BA%B7%E0%C3%D5%C2%B9%A4%CD%C1%BE%D4%C7%E0%B5%CD%C3%EC%AA%E8%C7%C2%CA%CD%B9%AA%D8%B4%B9%D4%B7%D2%B9%A4%B3%D4%B5.pdf

วัตถุประสงค์การวิจัย
ในการวิจัยมุ่งศึกษาการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิต ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิตก่อนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิต

สมมติฐานการวิจัย 
ในการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิตเพื่อพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานของการวิจัย ดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิตมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิต เด็ก ปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์

วิธีการดำเนินการวิจัย 
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิตเพื่อพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยดำเนินตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. แบบแผนการวิจัย
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
5. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนคุณธรรมวิทยา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จ านวน 6 ห้องเรียน จ านวนนักเรียนทั้งหมด 212 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 ซึ่งก าลัง ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนคุณธรรมวิทยาจ านวน 42 คน ซึ่งได้มาจาก การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จริง เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ซึ่งก าลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558ของโรงเรียนคุณธรรมวิทยาจ านวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิตเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย เป็นเครื่องมือที่น าเสนอเนื้อหาในบทเรียนให้แก่ผู้เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ ซึ่งประกอบด้วยนิทานมี 5 เรื่อง ดังนี้ นิทานเรื่องขวดสีมหัศจรรย์ พัฒนาทักษะด้านการสังเกต นิทานเรื่องลูกอมย่อส่วน พัฒนาทักษะด้านการจำแนก นิทานเรื่องขุมทรัพย์ลึกลับ พัฒนาทักษะด้านการเรียงล าดับ นิทานเรื่องของเล่นแห่งความสุข พัฒนาทักษะด้านการเปรียบเทียบ นิทานเรื่องกลีบดอกไม้วิเศษ พัฒนาทักษะด้านจำนวน
2. แผนการจัดประสบการณ์การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิตเพื่อพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 5 แผนการจัดประสบการณ์
3. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็น แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ มี 3 ตัวเลือก จ านวน 25ข้อ
4. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดนิทานคณิตของเด็กปฐมวัย เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (RatingScale) 3 ระดับ จำนวน 13ข้อ

สรุปผล
ผลการวิจัยเรื่อง การจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวันดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิตเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.00/91.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนิทานคณิต เด็กปฐมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนชุดนิทานคณิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น